IM not AFRAID

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง
รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด
การปกครอง คือ

1. มูลเหตุที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครอง

เนื่องจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์บ้านเมืองได้ผันแปร
แตกต่างกว่าเดิมเป็นอันมาก ทั้งความเจริญของบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้ข้าราชการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น
ลำดับลักษณะการปกครองที่ใช้มาแต่เดิมนั้นย่อมพ้นความต้องการตามสมัยสมควรที่จะได้รับการปรับปรุง
แก้ไขเสียใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "..การ
ปกครองบ้านเมืองของเราซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้ ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวง เป็นไปโดย
สะดวกได้แต่เดิมมาแล้วครั้นเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าการปกครอง
อย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกทีจึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ที่จะ
แก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลาที่เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง......"

ประกอบด้วยในรัชกาลของพระองค์นั้นเป็นระยะเวลาที่ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมาทาง
ตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย Colonial agrandisement ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและ
ฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยน์จาก
ประเทศไทยดังเช่นที่ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี และรักษาอาณาเขตได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า "Scientific expedition" เป็นเครื่องมือโดย
อาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออก
เดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทย
มิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของ
ไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทย จึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้าน
เมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว

มูลเหตุอีกประการหนึ่งของการปรับปรุงการปกครองก็คือ พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการกดขี่กันหรือก่อให้เกิดความ
อยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรซึ่งมีอยู่นั้นเสีย ขนบธรรมเนียมดังกล่าวได้แก่การมีทาสการใช้จารีตนคร
บาลในการพิจารณาความพระราชประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้ ปรากฏในพระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาส
และเกษียณอายุตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่าการสิ่งไรซึ่งเป็นการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะ
เป็นไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรที่เป็นธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณแต่ไม่เป็นยุติธรรม
ก็อยากจะเลิกถอนเสีย"

นอกจากนี้พระราชประสงค์ของพระบาทสทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะทรงนำเอาสิ่ง
ใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ได้ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Councilof state)
ประกอบด้วยเหล่าสมาชิกตั้งแต่ 10 - 20 นาย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานสภาและได้ทรงจัดตั้ง
สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy council)ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสุดแต่พระประสงค์ซึ่งต่อมาใน ปีร.ศ.
113 ได้ทรงยกเลิกสภาที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน อันประกอบด้วยเสนาบดีหรือผู้แทน
ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 12 คน อนึ่งการเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่นก็เป็นมูลเหตุสำคัญ
กับผู้ที่ประการหนึ่งที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยของพระองค์

เนื่องจากในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีฝรั่งชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำหนังสือ
สัญญาพระราชไมตรีกับประเทศไทยหนังสือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นได้ยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ
ยอมให้ฝรั่งตั้งศาลขึ้นเรียกว่าศาลกงศุลขึ้นพิจารณาความของคนในบังคับของตนได้อันเป็นการไม่ยอมอยู่
ใต้บังคับบัญชาของกฏหมายไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าฝรั่งถือว่ากฏหมายและวิธีพิจารณาความของประเทศ
ไทยยังไม่มีระเบียบแบบแผนดีพอการที่ฝรั่งต่างประเทศมีศาลกงศุลพิจารณาความของคนในบังคับของตนนั้น
ทำให้ประเทศไทย มีความยุ่งยากทางการปกครองเกิดขึ้นเสมอ จึงทรงมีพระราชประสงค์จะปรับปรุงการศาล
ยุติธรรมและกฏหมายของประเทศให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นที่เชื่อถือแก่ต่างประเทศเพื่อขจัดความยุ่ง
ยากอันเกิดจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จึงได้มีการปรับปรุงด้านตุลาการครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย

นอกจากนี้มีผู้รู้ คือ วรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็น
เงื่อนไขความจำเป็นที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่

1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำให้เอกภาพ
ของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาดประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการ
ควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้

2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสมายประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา
ปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่
จะควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อ
ล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพใน
ชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้

4. ปัญหาการมีทาส ก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อน
ล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามา
แทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนา

5. ระบบทหารของสยามประเทศ เป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติ
ไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนใน
ประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่
มั่นคง

6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฏหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็น
หลักประกันความยุติธรรมให้กับคนในชาติและชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้าง
ไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพ

7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศ ก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มีหน่วยงานที่จะรับ
ผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้
โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน


2. การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง

การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางได้จัดแบ่งหน่วยงานออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตาม
ลักษณะเฉพาะ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการจัดระเบียบบริหาร
ราชการส่วนกลางซึ่งมีมาแต่เดิมนับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มหาดไทย
กลาโหม เมือง วัง คลัง นาอันได้ใช้เป็นระเบียบปกครองประเทศไทยตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เหตุแห่ง
การปฏิรูปการปกครอง และระเบียบราชการส่วนกลางในรัชการนี้ ก็เนื่องจากองค์การแห่งการบริการ
ส่วนกลาง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติราชการให้ได้ผลดีและความเจริญของประเทศ
และจำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นข้าราชการเพิ่มขึ้น แต่องค์การแห่งราชการบริหารส่วนกลางยังคงมีอยู่เช่นเดิม
ไม่เพียงพอต่อความต้องการด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นโดยได้ทรงมีพระบรมราช
โองการประกาศตั้งกระทรวงแบบใหม่ และผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่างๆขึ้นโดยได้จัดสรร
ให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ดังนี้ คือ

1) กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวประเทศราช (ในช่วงแรก)

แต่ต่อมาได้มีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดที่มีให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย

2) กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกตะวันออกและเมืองมลายู

ประเทศราชเมื่อมีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้วกระทรวงกลาโหม
จึงบังคับบัญชาฝ่ายทหารเพียงอย่างเดียวทั่วพระราชอาณาเขต

3) กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) มีหน้าที่ด้านการต่างประเทศ

4) กระทรวงวัง ว่าการในพระราชวัง

5) กระทรวงเมือง (นครบาล) การโปลิศและการบัญชีคน คือ กรมพระสุรัสวดีและรักษาคนโทษ

6) กระทรวงเกษตราธิการ ว่าการเพาะปลูกและการค้า ป่าไม้ เหมืองแร่

7) กระทรวงพระคลัง ดูแลเรื่องเงิน รายได้ รายจ่ายของแผ่นดิน

8) กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องศาลซึ่งเคยกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ นำมาไว้ที่แห่ง

เดียวกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน

9) กระทรวงยุทธนาธิการ ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือ

10) กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับการศึกษา การรักษาพยาบาล และอุปถัมภ์คณะสงฆ์

11) กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ก่อสร้างทำถนน ขุดคลอง การช่าง การไปรษณีย์โทรเลข

การรถไฟ

12) กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฏหมายและ

หนังสือราชการทั้งปวง

เมื่อได้ประกาศปรับปรุงกระทรวงใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงได้ประกาศตั้งเสนาบดีและให้เลิกอัคร-

เสนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม กับตำแหน่งจตุสดมภ์ให้เสนาบดีทุกตำแหน่ง
เสมอกันและรวมกันเป็นที่ประชุมเสนาบดีสภา หรือเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา ต่อจากนั้นได้ยุบรวม
กระทรวงและปรับปรุงใหม่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวง
ต่าง ๆ ยังคงมีเหลืออยู่ 10 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวง
ยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงธรรมการ

ในด้านการทะนุบำรุงบ้านเมือง พระองค์ได้ทรงจัดการบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก

อาทิเช่น

1. การทหาร ทรงพระราชดำริเห็นว่าการเป็นทหารเป็นของจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติ

เพราะทหารเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศ จึงได้โปรดให้จัดการทหารตามแบบแผนและฝึกหัด
ตามยุทธวินัยชาวยุโรป ได้ส่งพระราชโอรสออกไปศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรปเพื่อนำเอาความรู้มาใช้

2. การตำรวจนครบาล ได้จัดตั้งตำรวจภูธรตามหัวเมืองต่างๆเพื่อตรวจตราปราบปรามโจรผู้ร้าย

ได้ทั่วถึง

3. การคลัง ในการเก็บภาษีอากรได้จัดการวางแบบแผนใหม่เพื่อป้องกันความรั่วไหลได้เงินไม่

เต็มตามจำนวนที่ควรจะได้โดยปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจของบุคคลจึงวางระเบียบการเก็บภาษีอากร
ใหม่โดยรัฐบาลเป็นผู้จัดการเก็บเองโดยตรง

4. การคมนาคม ได้ปรับปรุงโดยใน พ.ศ. 2434 ทรงจัดสร้างทางรถไฟ เพื่อให้ความสะดวกแก่

ประชาชนในการไปค้าขายและการคมนาคมติดต่อ โดยเสด็จไปเปิดทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา
และได้ทรงเปิดทางครั้งแรกใน พ.ศ.2439 ระหว่างกรุงเทพฯ กับอยุธยา พ.ศ.2424 ได้โปรดจัดการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกและโปรดให้ตั้งเป็นกรมขึ้นใน พ.ศ.2426 ต่อมาได้ขยายการไปรษณีย์โทรเลขออกไป

5. การศึกษา ได้ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางและแพร่หลายที่สุดเริ่มด้วยการตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังสอนหนังสือให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการแล้วจัดขยายไปถึงราษฎร์ โดยจัดตั้งโรงเรียนที่วัดมหรรพารามเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2435 ได้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นและจัดการศึกษาของประเทศ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเปิดการสอนและเพิ่มสถานศึกษาแก่ประชาชนครูเปิ

3. การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

ด้วยเหตุที่มีการรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองซึ่งเคยแยกกันอยู่ใน 3 กรม คือ มหาดไทยกลาโหมและ
กรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว การปฏิรูปหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคจึง
มีสภาพและฐานะเป็นตัวแทน (field) หรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐบาลกลาง
โดยส่วนรวมทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษระการปกครองแบบเมืองหลวง เมืองชั้นใน เมืองชั้นนอก เมือง
พระยามหานครและเมืองประเทศราชเดิม เพื่อให้ลักษณะการปกครองเปลี่ยนแปลงแบบราชอาณาจักรโดย
การจัดระเบียบการปกครองให้มีลักษณะลดหลั่นตามระดับสายการบังคับบัญชาหน่วยเหนือลงไปจนถึงหน่วย
งานชั้นรอง ตามลำดับดังนี้

1. การจัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล โดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสภาพภูมิ
ประเทศและความสะดวกแก่การปกครอง มีสมุหเทศาภิบาลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกสรร
จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามรถสูงและเป็นที่วางพระราชหฤทัยแต่งตั้งให้ไปบริหารราชการต่างพระเนตร
พระกรรณ

2. การจัดรูปการปกครองเมือง มีการปกครองใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ซึ่งมีบทบัญญัติ
เกี่ยวกับการจัดหน่วยบริหารที่ชื่อว่า "เมือง" ใหม่โดยให้รวมท้องที่หลายอำเภอเป็นหัวเมืองหนึ่งและกำหนดให้มี
พนักงานปกครองเมืองแต่ละเมือง ประกอบด้วยผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาเมือง และมีคณะกรรมการ
เมือง 2 คณะ คือ กรมการในทำเนียบและกรมการนอกทำเนียบ

3. การจัดการปกครองอำเภอ อำเภอเป็นหน่วยบริหารราชการระดับถัดจากเมืองเป็นหน่วยปฏิบัติราชการ
หน่วยสุดท้ายของรัฐที่จะเป็นผู้บริการราชการในท้องที่ และให้บริการแก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลกลาง
เป็นหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมท้องที่หลายตำบลเข้าด้วยกัน มีกรมการอำเภอซึ่งประกอบด้วยนาย
อำเภอปลัดอำเภอ และสมุหบัญชีอำเภอร่วมกันรับผิดชอบในราชการของอำเภอ โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้า

4. การจัดรูปการปกครองตำบลหมู่บ้าน อำเภอแต่ละอำเภอมีการแบ่งซอยพื้นที่ออกเป็นหลายตำบล
และตำบลก็ยังซอยพื้นที่ออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองสุดท้ายที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดการ
ปกครองระดับนี้มุ่งหมายที่จะให้ราษฎรในพื้นที่ เลือกสรรบุคคลขึ้นทำหน้าที่เป็นธุระในการรักษาความสงบ
เรียบร้อยโดยเป็นทั้งตัวแทนประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน



4.การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มต้น
จากการปฏิรูปการปกครองในส่วนกลางก่อนจากนั้นจึงปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคภายใต้ระบบเทศา
ภิบาลโดยเริ่มดำเนินการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลตามแบบแผนใหม่ 3 มณฑลแรก (มณฑล พิษณุโลก
ปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา) ในปี พ.ศ.2437 และได้ใช้เวลารวม 13 ปี จึงจัดระบบ การปกครองแบบ
เทศาภิบาลได้ทั่วประเทศในปี พ.ศ.2450 ในระหว่างที่ดำเนินการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค
ดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
ของประชาชนในท้องถิ่นจากต่างประเทศมาดำเนินการโดยริเริ่มทดลองให้มีการจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ
และการสุขาภิบาลหัวเมือง รายละเอียดดังนี้

1. การจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้จัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล ขึ้นใน
กรุงเทพ อันเป็นอิทธิพลสืบเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโอกาสไปดู กิจการต่าง ๆ
ในยุโรป และเนื่องจากเจ้าพระยาอภัยราชา(โรลังยัคมินส์) ติเตียนว่ากรุงเทพฯสกปรกไม่มีถนนหนทางสมควรแก่ฐานะเป็นเมืองหลวงพระองค์ จึงโปรดเกล้าให้จัดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นโดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ออกใช้บังคับการจัด การดำเนินงานเป็นหน้าที่ของกรมสุขาภิบาล การบริหารกิจการในท้องที่ของสุขาภิบาลพระราชกำหนดได้กำหนดให้มีการประชุมปรึกษากันเป็นคราว ๆ

หน้าที่ของสุขาภิบาลกรุงเทพฯ มีดังนี้

- หน้าที่ในการทำลายขยะมูลฝอย

- หน้าที่ในการจัดให้มีส้วมสำหรับมหาชนทั่วไป

- หน้าที่ในการควบคุมอาคาร สิ่งปลูกสร้าง

- หน้าที่ในการย้ายสิ่งโสโครกและสิ่งก่อความรำคาญแก่ประชาชน

2. การจัดการสุขาภิบาลหัวเมือง

เนื่องจากการจัดการสุขาภิบาลขึ้นที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีเป็นประโชน์ต่อท้องถิ่นเป็นอันมากทั้งยังได้รับความนิยมจากประชาชนด้วยจึงทรงมีพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายกิจการสุขาภิบาลให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ แต่ทรงเห็นว่าท้องที่ที่จะจัดให้มีสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่างๆ ย่อมแตกต่างกันไม่เหมาะที่จะใช้ระเบียบสุขาภิบาลแบบเดียวกัน โปรดเกล้าให้จัดสุขาภิบาล จึงได้ตามหัวเมือง ร.ศ.127 ขึ้นพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรเมื่อสมควรจะจัดการสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่ใดก็จะได้ประกาศจัดการสุขาภิบาลท้องที่นั้น และใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ.127

ภิบาลตำบลและสุขาภิบาลแต่ละชนิดมีหน้าที่

- รักษาความสะอาดในท้องที่

- การป้องกันและรักษาความเจ็บไข้ในท้องที่

- การบำรุงและรักษาทางไปมาในท้องที่

- การศึกษาขึ้นต้นของราษฎร

5. การปกครองระบอบประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังจากเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาแล้ว ได้ทรงมีพระราชดำริหารือที่ปรึกษาเกี่ยวกับการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย และที่ปรึกษาได้เสนอความเห็นว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นควรจัดให้มีการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องดังกล่าวแก่ประชาชน โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มิฉะนั้นผลที่ได้จากการพระราชทานรัฐธรรมนูญก็จะไม่เป็นไปตามพระราชปณิธานที่ตั้งไว้แต่เดิม

การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2475ทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสิ้นสุดลงในระยะ2-3 วันแรก คณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลายไม่ใช่เป็นของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์

2.สภาผู้แทนราษฎร

3. คณะกรรมการราษฎร

4. ศาล

กล่าวคือพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรอำนาจบริการร่วมกับคณะกรรมการราษฎรและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ระบอบการปกครองตามแบบกฏหมายฉบับนี้คล้ายกับระบบปกครองโดยรัฐสภา ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการราษฎรที่จะจะควบคุมการบริหารซึ่งคณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้ และมีอำนาจที่จะถอนกรรมการราษฎรออกจากตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญนี้สถาบันทางการเมือง คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการราษฎร



6. ลักษณะการปกครองตามธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475

ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ
ถาวรซึ่งมีหลักการต่างจากฉบับแรกในสาระสำคัญหลายประการ เช่น

1. ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา เพราะว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุข แห่งรัฐไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารทาคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดินแต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนซึ่งมีอำนาจที่จะลงมติให้ความไว้วางใจหรือไม่ให้ความไว้วางใจ อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีต้องออกจากตำแหน่งได้การปกครองตามระบบรัฐสภาควบคุมนี้ รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายของนิติบัญญัติ คือ ออกกฏหมายเท่านั้น แต่ว่ามีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินด้วย

2. เนื่องจากได้ใช้ระบบรัฐสภาควบคุมการบริการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 จึงได้วางหลักให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีอำนาจควบคุมกัน กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติแม้จะมี อำนาจควบคุมคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารก็ตามแต่คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจยุบสภาผู้แทนได้เมื่อเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาของตนที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่

3.ในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้นตามรัฐธรรมนูญนี้ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ซึ่งหมายความว่าผู้ใดจะฟ้องร้อง พระมหากษัตริย์ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใด และพระมหากษัตริย์ไม่ทรงรับผิดชอบทางการ เมือง แต่ตามพระราชบัญญัติการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวยังให้อำนาจสภาผู้แทนที่จะ วินิจฉัยได้เมื่อพระมหากษัตริย์มีกรณีที่ถูกฟ้องร้อง โดยได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์จะถูก ฟ้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้เป็นหน้าที่ของสภาจะวินิจฉัยแต่ตามรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2475 ทั้งศาล และสภาผู้แทนไม่มีอำนาจวินิจฉัยการกระทำของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้รับความคุ้ม กันที่จะไม่ถูกฟ้องร้องด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น

4. ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาฯไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนักแต่ส่วนประกอบของ สภาผู้แทนได้บัญญัติไว้เพียง 2 สมัย คือ

สมัยที่1 นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติการปกครองสยามชั่วคราว 2475 สภาประกอบ ด้วยสมาชิก 2 ประเภทเท่ากันคือ ประเภท1 ราษฎรเลือกตั้ง ประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งและมิได้ห้ามการตั้งสมาชิกประเภท 2 จากข้าราชการประจำ

สมัยที่2 เมื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกมีการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาสามัญ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดหรืออย่างช้าไม่เกิน10ปีนับแต่วัยใช้พระราชบัญญัติการ ปกครองสยามชั่วคราว สภาจะประกอบด้วยสมาชิกประเภทเดียวแต่เรื่องนี้ต่อมาได้มีรัฐ ธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พ.ศ. 2485 ได้ขยายเวลาของสมัยที่ 2 นี้ ออกเป็น 20 ปีนับแต่วันใช้พระราชบัญญัติการปกครองสยามชั่วคราว

5. ด้านบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีที่ทรงแต่ง ตั้งคณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบเป็นส่วนรวมต่อสภาฯ และเป็นการเฉพะตัวสำหรับรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ว่าการกระทรวงแต่ก็มิใช่อยู่ที่สภาแต่งตั่งเหมือนคณะกรรมการราษฎรและมิได้มี อำนาจถอดถอนได้นอกจากลงมติไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีต้องลาออกนอก จากนี้ยังให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้อำนาจบริหารในนามของพระมหากษัตริย์ และมีอำนาจปกครองประเทศด้วยโดยได้เลิกตำแหน่งเสนาบดีทั้งหมดและตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงขึ้นแทน



สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยรัตนโกสินทร์

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้องผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัวเรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้ามามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง ถิ่นต่าง ๆ

ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะบ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ยหวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้นนับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่
เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มาเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้ เพิ่มมากขึ้น

รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้

1. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ
เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน
ประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช

2. ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ
ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาล
ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น

3. อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ
ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ
การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ ส่งเป็น
ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น
อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น

4. ภาษีอากรและจังกอบ ภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ 4 ส่วนภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุกด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภทแรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าค้าของราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ เก็บตามอัตราขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า "ค่าปากเรือ"

ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ การ เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือในการชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อนเพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ
ทางตะวันตก



แบบทดสอบ

http://quickr.me/Rm5RWzs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น