IM not AFRAID

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รัฐสภา

รัฐสภา

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา



ประวัติรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ

- หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง

- หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา

- หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

อาคารรัฐสภาแห่งใหม่

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ ซึ่งได้กำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551


จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้

๑. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
๒๘ มิถุนายน - ๑ กันยายน ๒๔๗๕
๑๕ ธันวาคม - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖

๒. เจ้าพระยาพิชัยญาติ
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒ กันยายน ๒๔๗๕ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖


๓.พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗
๖ กรกฏาคม ๒๔๘๖ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๗
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๐
๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐

๔. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๗
๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๗ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๘
๗ สิงหาคม ๒๔๗๘ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๙
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ - ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
๑๕ มิถุยายน ๒๔๙๒ - ๒๐ พศจิกายน ๒๔๙๓
๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔

๕.พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๓ สิงหาคม ๒๔๗๙ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐
๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๑
๒๘ มิถุยายน ๒๔๘๑ - ๑๐ ธันวามคม ๒๔๘๑
๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒
๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓
๑ กรกฏาคม ๒๔๘๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔
๑ กรกฏาคม ๒๔๘๔ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕
๓๐ มิถุนายน ๒๔๘๕ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๘๖
๒ กรกฏาคม ๒๔๘๗ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘
๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๘ - ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘
๒๖ มกราคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙

๖. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
๔ มิถุนายน ๒๔๘๙ - ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๙

๗.พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๑ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๕
๒๒ มีนาคม ๒๔๙๕ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๕
๒๘ มิถุนายน ๒๔๙๕ -๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๖
๒ กรกฏาคม ๒๔๙๖ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๗
๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๘
๒ กรกกาคม ๒๔๙๘ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๙
๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๙ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
๑๖ มีนาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๐
๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๐ - ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๑
๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑

๘.พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๒๐ กันยายน ๒๕๐๐ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๐
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๑๑

๙. นายทวี บุญยเกตู
ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๘ พฤษภาคม๒๕๑๑ -๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑

๑๐.พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๒ กรกฏาคม ๒๕๑๑ - ๖ กรกฏาคม ๒๕๑๔
๗ กรกฏาคม ๒๕๑๔ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

๑๑.พลตรีศิริ สิริโยธิน
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๑๘ ธันวามคม ๒๕๑๕ - ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๖

๑๒.พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๖ -๗ ตุลาคม ๒๕๑๗


๑๓.นายประภาศน์ อวยชัย
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๗ - ๒๕ มกราคม ๒๕๑๘

๑๔.นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ -๑๒ มกราคม ๒๕๑๙

๑๕.นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
๑๙ เมษายน ๒๕๑๙ - ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ - ๕ มกราคม ๒๕๔๘

๑๖.พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๙

๑๗.พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๒๒
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖

๑๘.นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๗

๑๙.ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๓๐ เมษายน ๒๕๒๗ - ๓๐ เมษายน ๒๕๒๘
๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ - ๒๓ เมษายน ๒๕๓๐
๒๔ เมษายน ๒๕๓๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๓๒
๓ เมษายน ๒๓๓๕ - ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒ เมษายน ๒๕๓๔ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๕


๒๐.ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

๒๑.นายมีชัย ฤชุพันธ์
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๕
ประธานวุฒิสภา
๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
๖ เมษายน ๒๕๓๙ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๓

๒๒.ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘


๒๓.นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๑๑ กรกฏาคม ๒๕๓๘ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๘

๒๔.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ - ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๓

๒๕.นายพิชัย รัตตกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๓ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓

๒๖.นายโภคิน พลกุล
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร
๘ มีนาคม ๒๕๔๘ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

๒๗.นายยงยุทธ ติยะไพรัช
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร
๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ - เมษายน ๒๕๕๑

๒๘. นายชัย ชิดชอบ
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑





แบบทดสอบ

http://quickr.me/pi4Q0eT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น